Archive for the ‘Uncategorized’ Category

ปาล์มน้ำมัน นับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ปัจจุบัน ไทยมีจำนวนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันมากกว่า 1.28 แสนครัวเรือน มีพื้นที่เพาะปลูก และพื้นที่ให้ผลผลิตประมาณ 4.28 และ 3.98 ล้านไร่ ตามลำดับ สามารถผลิตน้ำมันปาล์มดิบได้ปีละ 1.9 ล้านตัน ซึ่งช่วยสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรประมาณ 6 หมื่นล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ การผลิตน้ำมันปาล์มดิบของไทยในปี 2555 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 5-7 จากปีก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากที่ภาครัฐได้มีการดำเนินยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมันในช่วงปี 2551-2555 เพื่อเร่งผลัก ดันให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมัน เพิ่มผลผลิต และผลิตภาพการผลิตน้ำมันปาล์มดิบเพื่อรองรับกับยุทธศาสตร์พลังงานทดแทน และลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อความมั่นคงทาง ด้านอาหารของประเทศ ประกอบกับราคาผลปาล์มดิบในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเดิมที่มีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 4 บาทในปี 2552 ปรับขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 6 บาทในปี 2555 จึงเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เกษตรกรขยายพื้นที่การเพาะปลูก

ส่วนทางด้านของปริมาณผลผลิตน้ำมันปาล์มในประเทศ ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 ผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ภายในประเทศ โดยการใช้น้ำมัน ปาล์มสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ
 ใช้เพื่อการบริโภค (ร้อยละ 60) ทั้งในรูปแบบของน้ำมันพืชที่ใช้ในการประกอบอาหาร และใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ เช่น ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมข้นหวาน ครีมและเนยเทียม ทั้งนี้ น้ำมันปาล์มนับว่าเป็นน้ำมันพืชที่มีการใช้บริโภคมากที่สุดในประเทศ คิดเป็นร้อยละ 65 ของมูลค่าตลาดน้ำมันพืชทั้งหมด เนื่องจากน้ำมันปาล์มมีราคาที่ค่อนข้างถูกหากเทียบกับน้ำมันพืชประเภทอื่น ประกอบกับคุณสมบัติที่เหมาะในการประกอบอาหารประเภททอด และไม่ทำให้อาหารมีกลิ่นหืน จึงทำให้คนส่วนใหญ่นิยมเลือกบริโภคน้ำมันปาล์ม
• ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานทดแทน ที่เรียกว่าไบโอดีเซล (ร้อยละ 28) เพื่อช่วยลดการใช้น้ำมันดีเซล เพิ่มความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศ อีกทั้งยังจะช่วยลดปัญหาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา สัดส่วนการใช้น้ำมันปาล์มในภาคพลังงานมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากร้อยละ 21 ในปี 2551 เพิ่มเป็นร้อยละ 28 ในปี 2554 และสำหรับในปี 2555 คาดว่าการใช้น้ำมันปาล์มในภาคพลังงานจะยังคงมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 35-40 ของการใช้น้ำมันปาล์มทั้งหมด
 ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ (ร้อยละ 13) เช่น สบู่ ผงซักฟอก เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ต่างๆ และอาหารสัตว์
สำหรับสถานการณ์ของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในปี 2555 แม้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรจะมีการคาดการณ์ว่าน้ำมันปาล์มดิบที่ผลิตได้จะมีปริมาณ มากกว่า 1.9 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-7 แต่ในช่วง 8 เดือนแรกที่ผ่านมา ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคยังคงเผชิญปัญหาน้ำมันพืชบรรจุขวดที่วางจำหน่ายไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคในบางช่วง โดยมีสาเหตุหลักมาจากความต้องการใช้น้ำมันปาล์มดิบในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการใช้ผลิตพลังงานทดแทน ประกอบกับปริมาณผลผลิตปาล์มในช่วงที่ผ่าน มาออกสู่ตลาดน้อยลงกว่าช่วงปกติ เพราะเป็นช่วงนอกฤดูกาลผลิตและประสบปัญหาสภาพอากาศร้อนแล้งเมื่อช่วงต้นปี นอกจากนี้ ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นในทวีปอเมริกา (สหรัฐฯ บราซิล อาร์เจนตินา) กดดันให้ราคาน้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันปาล์มในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจูงใจให้การส่งออกน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ในช่วง 6 เดือนแรก ของปี 2555 ปรับเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 364 และร้อยละ 92.3 ตามลำดับ
จากปัญหาน้ำมันพืชขาดตลาดที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุญาตการนำเข้าน้ำมันปาล์มปริมาณ 4 หมื่นตัน สำหรับใช้ในการผลิตน้ำมัน ปาล์มบรรจุขวด เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาน้ำมันปาล์มขาดตลาดและชะลอการปรับขึ้นราคาน้ำมันปาล์มบรรจุขวดที่กำหนดเพดานไว้ที่ 42 บาทต่อขวด (1 ลิตร) ในขณะที่ทางกรมพัฒนาธุรกิจ พลังงานต้องประกาศปรับลดสัดส่วนในการผสมน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ บี 100 ในการผลิตไบโอดีเซล เหลือร้อยละ 3.5-5 ต่อน้ำมันดีเซล 1 ลิตร (จากเดิมร้อยละ 4.5-5) เพื่อลดการใช้น้ำมันปาล์มดิบ ในการผลิตพลังงานทดแทน และมีปริมาณเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ อย่างไรก็ตาม สำหรับปริมาณการผลิตน้ำมันปาล์มที่ออกสู่ตลาดในระยะถัดไป ยังคงต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ คือ ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ แนวโน้มราคาพืชน้ำมันและน้ำมันพืชในตลาดโลก ยังคงเผชิญปัญหาภัยแล้งในทวีปอเมริกา รวมถึงมาตรการนโยบายภาครัฐต่างๆ เช่น การส่งเสริมการผลิต และการใช้พลังงานทดแทน (ไบโอดีเซล) และมาตรการชะลอการปรับขึ้นของค่าครองชีพและราคาสินค้า ซึ่งรวมไปถึงการควบคุมราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันพืชบรรจุขวดขนาด 1 ลิตร

โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
1. โรคใบไหม้
พบมากในระยะต้นกล้าปาล์มน้ำมัน
สาเหตุ : เชื้อรา
ลักษณะอาการ
แผลมีลักษณะบุ๋มตรงกลางมีสีน้ำตาล ขอบแผลนูนมีลักษณะฉ่ำน้ำ รอบแผลมีวงสีเหลือง ล้อมรอบ แผลรูปร่างกลมรี ความยาวของแผลอาจถึง 7-8 มม. เมื่อเกิดระบาดรุนแรง แผลขยายตัวรวมกันทำให้ใบแห้งม้วนงอและเปราะฉีกขาดง่าย การเจริญเติบโตของต้นกล้าชะงักไม่เหมาะในการนำไปปลูกในกรณีที่โรครุนแรงทำให้ต้นกล้าถึงตายได้
การป้องกันกำจัด
เผาทำลายใบ และต้นที่เป็นโรค
พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชที่ไม่มีสารทองแดงเป็นองค์ประกอบ
2. โรคก้านทางใบบิด
พบในต้นปาล์มน้ำมันอายุ 1-3 ปี หลังจากนำลงปลูกในแปลง โรคนี้มีผลให้การเจริญเติบโตของต้นปาล์มน้ำมันหยุดชะงักไประยะหนึ่ง

ระยะเวลาปลูก

Posted: มีนาคม 18, 2013 in Uncategorized

ควรกำหนดช่วงเวลาในการปลูกปาล์มน้ำมันในช่วงฤดูฝน ไม่ควรปลูกช่วงปลายฤดูฝนต่อเนื่องฤดูแล้ง หรือหลังจากปลูกต้นกล้าแล้วจะต้องมีฝนตกอีกอย่างน้อยประมาณ 3 เดือน จึงจะเข้าฤดูแล้ง ข้อควรระวังหลังจากปลูกไม่ควรเกิน 10 วัน จะต้องมีฝนตก ฤดูกาลที่นิยมปลูกกันในภาคใต้ คือ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ปลูกในช่วงระหว่างเดือนเมษายน ถึง กันยายน และภาคใต้ตะวันออก ปลูกช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง ตุลาคม
การเตรียมหลุมปลูกและการปลูก
หลังจากวางแนวปลูกและปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่วเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การเตรียมหลุมปลูก โดยขุดหลุมเป็นรูปตัวยู กว้าง x ยาว x ลึก ( 45 x 45 x 35 เซนติเมตร ) โดยแยกดินชั้นบนและชั้นล่างและตากดินไว้ประมาณ 10 วัน ใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟตรองก้นหลุม อัตราประมาณ 250 กรัมต่อหลุม นำถุงพลาสติกออกจากต้นกล้าปาล์มน้ำมันอย่างระมัดระวังอย่าให้ก้อนดินแตกโดยเด็ดขาดจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโตและประคองต้นกล้าอย่างระมัดระวังแล้ววางลงในหลุมปลูก ใส่ดินชั้นบนลงก้นหลุมแล้วจึงใส่ดินชั้นล่างตามลงไป ทั้งนี้เมื่อนำต้นกล้าวางลงในหลุมแล้วจึงอัดดินให้แน่น เมื่อปลูกเสร็จแล้วโคนต้นกล้าจะต้องอยู่ในระดับเดียวกันกับระดับดินเดิมของแปลงปลูก
การปลูกซ่อม
ควรทำการปลูกซ่อมให้เร็วที่สุด หลังจากปลูกลงแปลงปลูกจริง ทั้งนี้ควรสำรองต้นกล้าไว้สำหรับปลูกซ่อมประมาณ 5 % ของต้นกล้าที่ต้องการใช้ปลูกจริง โดยดูแลรักษาไว้ในถุงพลาสติกสีดำขนาด 18 x 24 นิ้ว ต้นกล้าจะมีอายุระหว่าง 14-20 เดือน ทั้งนี้เพื่อให้ต้นกล้าที่นำไปปลูกซ่อมมีขนาดทัดเทียมกับต้นกล้าในแปลงปลูกจริง การปลูกซ่อมแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ปลูกซ่อมหลังจากปลูกในแปลงประมาณ 1-2 เดือน อาจเกิดขึ้นจากการกระทบกระเทือนตอนขนย้ายปลูกหรือเกิดจากความแห้งแล้งหลังปลูกอย่างรุนแรง อาจจะต้องปลูกซ่อมประมาณ 0.5-3 % ปลูกซ่อมหลังจากการย้ายปลูก 6-8 เดือน ไม่ควรเกิน 1 ปี เป็นการปลูกซ่อมต้นกล้าที่มีลักษณะผิดปกติ เช่น ต้นมีลักษณะทรงสูง โตเร็วผิดปกติซึ่งเป็นลักษณะของต้นตัวผู้ พบประมาณ 2-3 %

การดูแลรักษา

Posted: มีนาคม 18, 2013 in Uncategorized

การให้ปุ๋ย
การประเมินความต้องการธาตุอาหารของปาล์มน้ำมัน ซึ่งปาล์มน้ำมันต้องการธาตุอาหารในปริมาณสูงและค่าใช้จ่ายในการใส่ปุ๋ยมีราคาแพง จึงจำเป็นต้องทราบชนิดและอัตราปุ๋ย ตลอดจนวิธีการและระยะเวลาที่เหมาะสมในการใส่ปุ๋ย เพื่อลดต้นทุนการผลิต วิธีการพื้นฐานในการประเมินความต้องการปุ๋ยของปาล์มน้ำมัน มีดังนี้
วิธีที่ 1 : ใช้ลักษณะอาการที่มองเห็นที่ต้นปาล์ม แสดงอาการขาดธาตุอาหาร
วิธีที่ 2 : ใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ คือ การใส่ปุ๋ยเคมีตามผลการวิเคราะห์ใบปาล์มน้ำมัน
การประเมินความต้องการธาตุอาหารของปาล์มน้ำมันโดยวิธีที่ 2 เป็นวิธีที่นิยมและแพร่หลายในปัจจุบัน คือ สามารถบอกระดับปริมาณความต้องการปุ๋ย โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องเก็บใบที่ถูกต้องมาวิเคราะห์ และปริมาณผลผลิต ติดต่อกันอย่างน้อย 3-4 ปี นอกจากนี้ยังต้องใช้ข้อมูลการใส่ปุ๋ย การสังเกตอาการขาดธาตุอาหารของพืชการเจริญเติบโต และข้อมูลการวิเคราะห์ดินเพื่อประกอบการพิจารณาใส่ปุ๋ยต่อไป การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันด้วยวิธีนี้เกษตรกรจะต้องเก็บตัวอย่างใบถูกต้องส่งมาที่สำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 หรือกองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร และหน่วยงานดังกล่าวจะทำการวิเคราะห์ธาตุอาหารและจัดส่งคำแนะนำการใส่ปุ๋ยตามผลการวิเคราะห์ใบปาล์มน้ำมันให้เพื่อเป็นข้อมูลในการใส่ปุ๋ยเคมีต่อไป ในกรณีที่เกษตรกรไม่สามารถเก็บตัวอย่างใบส่งไปวิเคราะห์ทางเคมีได้หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ กรมวิชาการเกษตรมีคำแนะนำการใส่ปุ๋ย ดังนี้ ( ตาราง) ควรกำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ยเคมีและใส่ในขณะที่ดินมีความชื้นเพียงพอ หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยเมื่อฝนตกหนัก
ตารางการใส่ปุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมันอายุต่าง ๆ

อายุ ( ปี ) เดือนที่ใส่ปุ๋ย แอมโมเนียม ซัลเฟต ร็อค

ฟอสเฟต

โพแทสเซียม

คลอไรด์

คีเซอร์

ไรท์

โบเรท

( กรัม/ต้น )

( กิโลกรัม / ต้น )
1

 

 

 

 

 

รองก้นหลุม

1

3

6

9

12

0.1

0.2

0.2

0.3

0.4

0.5

0.8

0.1

0.2

0.2

0.1

30

รวมทั้งหมด ปีที่ 1 1.2 1.3 0.5 0.1 30
2

 

 

 

15

18

21

24

0.5

0.5

1.0

1.5

1.5

1.5

1.5

1.0

1.0

0.3

0.3

60

รวมทั้งหมด ปีที่ 2 3.5 3.0 2.5 0.5 60
3

 

27

31

36

1.5

1.5

2.0

3.0

1.0

1.0

1.0

0.5

0.5

90

รวมทั้งหมด ปีที่ 3 5.0 3.0 3.0 1.0 90
4

 

40

46

2.5

2.5

1.5

1.5

1.5

1.5

0.5

0.5

100

รวมทั้งหมด ปีที่ 4 5.0 3.0 3.0 1.0 90
5 52

58

2.5

2.5

1.5

1.5

2.0

2.0

0.5

0.5

80

รวมทั้งหมด ปีที่ 5 5.0 3.0 4.0 1.0 80
6 ปี

ขึ้นไป

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

2.5

2.5

1.5

1.5

2.0

2.0

0.5

0.5

80

รวมทั้งหมด ปีที่ 6 5.0 3.0 4.0 1.0 80

ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21- 0- 0 ) N = 21 %
ปุ๋ยทริบเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต(0- 46- 0 )P2O5= 46 %
ปุ๋ยร็อคฟอสเฟต (0- 3- 0 ) P2O5= 30 %
ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0- 0- 60 ) K2O= 60 %
ปุ๋ยคีเซอร์ไรท์ MgO= 27 %
ปุ๋ยโบเรท Boron= 11 %
ตารางแสดงวิธีการใส่ปุ๋ยเคมีเมื่อปาล์มน้ำมันอายุต่าง ๆ

อายุปาล์ม (ปี) ปุ๋ย N ,K และ Mg ปุ๋ย P
1 – 4

5 – 9

 

10ปีขึ้นไป

 

-ใส่บริเวณรอบโคนต้นที่กำจัดวัชพืชแล้ว

-ใส่บริเวณโคนต้นห่างจากโคนต้น 50 ซม.ถึง2.50 เมตร

-หว่านบริเวณระหว่างแถวปาล์มที่กำจัดวัชพืชหรือบนกองทางใบที่ถูกตัดแต่ง

-ใส่บริเวณรอบโคนต้นที่กำจัดวัชพืชแล้ว

-ใส่บริเวณรอบโคนต้นห่างจากโคนต้น 2.50 เมตร ถึงบริเวณปลายทางใบ

-หว่านบริเวณระหว่างแถวปาล์มที่กำจัดวัชพืชแล้วหรือบนกองทางใบที่ถูกตัดแต่ง

การให้น้ำ
ต้นปาล์มน้ำมันที่ปลูกในสภาพพื้นที่ที่มีช่วงฤดูแล้งยาวนาน หรือสภาพพื้นที่ที่มีการขาดน้ำมากกว่า 250 มม./ปี ควรมีการให้น้ำเสริม หรือทดแทนน้ำจากน้ำฝนในปริมาณ 150-200 ลิตร /ต้น/วัน ในพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ มีแหล่งน้ำจำกัด และมีแหล่งเงินทุนควรติดตั้งระบบน้ำแบบ น้ำหยด ( Drip irrigation ) ส่วนพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำมากเกินพอ และมีแหล่งเงินทุน ควรติดตั้งระบบน้ำแบบระบบ Mini sprinkler
การตัดแต่งทางใบ
ปาล์มน้ำมันที่เริ่มปลูกจนถึงปีที่ 6 ควรไว้ทางใบ 7-8 รอบ ( 56-64 ทางใบ ) ปาล์มน้ำมันที่โตเต็มที่ควรไว้ทางใบ 4.5-6.5 รอบ ( 36-48 ทางใบ ) ไม่ควรตัดแต่งทางใบจนกว่าจะถึงช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรตัดทางใบให้เหลือรองรับทลายปาล์ม 2 ทาง (ชั้นล่างจากทลาย ) และทางใบที่ตัดแล้ว ควรนำมาเรียงกระจายแถวเว้นแถวและทุกๆ 4-5 ปี จะต้องวางสลับแถวกันเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้กระจายทั่วแปลง
การใช้ทลายเปล่าคลุมดิน
ทลายเปล่าที่นำมาจากโรงงาน ควรนำมากองทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน แล้วจึงนำไปวางกระจายไว้รอบโคนต้น โดยใส่ทลายเปล่าอัตรา 150-225 ก.ก/ต้น/ปี
การลดจำนวนต้นปาล์มต่อไร่เพื่อรักษาระดับผลผลิตให้สูง
การรักษาระดับผลผลิตทลายผลปาล์มสดให้อยู่ในระดับสูงและคงที่เมื่อต้นปาล์มมีอายุระหว่าง 10-20 ปี เนื่องจากมีการแข่งขันระหว่างต้นปาล์มน้ำมันในด้านปัจจัยแสงที่เกิดจากการบังแสงซึ่งกันและกันโดยวิธีการลดจำนวนต้นปาล์มจาก 22 ต้น/ไร่ ให้เหลือประมาณ 19 ต้น/ไร่ เมื่อปาล์มมีอายุ 10 ปี ทั้งนี้โดยคัดเลือกต้นปาล์มที่มีลักษณะผิดปกติและมีผลผลิตน้อย หรือไม่ให้ผลผลิตออก โดยใช้วิธีกำจัดต้นปาล์มด้วยสารเคมี คือ เจาะรูที่โคนต้นปาล์มสูงจากดิน 30-90 ซม. เจาะลึกประมาณ 10-20 ซ.ม. ให้ทำมุม 45 องศาลงดินและใส่สารเคมีกรัมม็อกโซน 100 มิลลิลิตร ต่อต้น
การปลูกแทนใหม่
ต้นปาล์มมีอายุประมาณ 18-25 ปี ต้นสูงเกินไปทำให้ค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวสูง และมีผลผลิตต่ำจึงไม่คุ้มกับการดำเนินธุรกิจสวนปาล์มต่อไป หรือปลูกทดแทนพันธุ์ที่มีคุณภาพต่ำ
วิธีการปลูกแทน มี 2 วิธีคือ
1.กำจัดต้นปาล์มเดิมออกให้หมดในครั้งเดียวแล้วปลูกต้นใหม่แทน
2.ตัดต้นปาล์มน้ำมันในสวนเก่าออกในอัตราส่วน 1/3 ของจำนวนต้นทั้งหมดในทุกๆปี
ทั้งนี้โดยตัดโค่นออกในปีที่เริ่มปลูกต้นกล้าปาล์มใหม่ภายในเวลา 3 ปี ต้นปาล์มเก่าจะถูกโค่นล้มหมดและต้นปาล์มน้ำมันปลูกแทนใหม่จะเริ่มให้ผลผลิตในการโค่นล้มต้นปาล์มต้นเดิมออกมี 2 วิธี คือ การใช้สารเคมีและการใช้รถแทรกเตอร์โค่นล้ม
สุขลักษณะและความสะอาด
ทางใบปาล์มที่เกิดจากการตัดแต่งทางใบ หรือเกิดจากการตัดทางใบในขณะทำการเก็บเกี่ยวต้องไม่นำมาเผาและควรนำมาจัดเรียงรอบโคนต้นปาล์ม หรือกองไว้บริเวณแถวของต้นปาล์มแถวเว้นแถว เพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุในสวนปาล์ม
ทลายเปล่าปาล์มน้ำมัน ที่นำมาใช้เป็นวัสดุคลุมดินในสวนปาล์ม ควรนำทลายที่มีขนาดใหญ่ มาสับให้เป็นชิ้นเล็กก่อน แล้วนำไปเรียงรอบโคนต้นปาล์ม เพื่อเพิ่มธาตุอาหารและรักษาความชื้นให้ดิน
ภายหลังจากการเก็บเกี่ยวทลายปาล์มจะมีผลปาล์มที่ร่วงหล่นอยู่บริเวณโคนต้นปาล์ม ควรเก็บรวบรวมใส่ถุงเพื่อส่งเข้าโรงงานสกัด ไม่ปล่อยให้ลูกปาล์มงอกตามพื้นดินใต้ต้นปาล์ม
เสียมด้ามยาวและเคียวติดด้าม เมื่อใช้เสร็จเรียบร้อย ควรทำความสะอาดและลับให้คมเพื่อเตรียมไว้ใช้งานในครั้งต่อไป
เลือกใช้สารเคมีให้เหมาะสมกับชนิดของศัตรูพืช และสารเคมีนั้นต้องมีประสิทธิภาพต่อศัตรูพืชนั้นโดยเฉพาะ
ให้ใช้สารเคมีเฉพาะเมื่อพบว่ามีศัตรูพืช และสารเคมีนั้นต้องมีประสิทธิภาพต่อศัตรูพืชนั้นโดยเฉพาะ
ให้ใช้สารเคมีในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น และไม่ควรใช้เกินอัตราที่กำหนดไว้ในฉลาก
ควรพ่นสารเคมีเฉพาะเมื่อพบว่ามีศัตรูเข้าทำลายในระดับที่จะเกิดความเสียหายต่อปาล์มน้ำมันและหากมีการระบาดรุนแรง ก็ให้เพิ่มจำนวนครั้งมากขึ้นได้
ในการพ่นสารเคมีควรระมัดระวังความเสียหายจากสารเคมีปลิวไปถูกใบปาล์ม หรือรากปาล์มซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อใบ ทำให้ใบไหม้ หรือใบมีการเจริญเติบโตผิดปกติ
ควรใช้แรงงานในการพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะในระยะปาล์มเล็กควรใช้แรงงานที่มีความชำนาญด้านนี้เฉพาะ และต้องฉีดพ่นด้วยความระมัดระวัง
อุปกรณ์ในการฉีดพ่นสารเคมี ภายหลังจากการใช้ควรทำความสะอาดและเก็บไว้ในสถานที่จัดเตรียมไว้
ภาชนะบรรจุสารเคมีและวัสดุการเกษตรต่างๆที่ใช้ในสวนปาล์ม ควรเก็บรวบรวมและนำไปทิ้งในสถานที่ที่จัดไว้สำหรับทิ้งภาชนะเหล่านี้ภายในหรือภายนอกสวน

การเตรียมพื้นที่

Posted: มีนาคม 18, 2013 in Uncategorized

ควรดำเนินการในฤดูแล้งในระหว่างเดือน มกราคม- เมษายน ดังต่อไปนี้
ควรปรับเกลี่ยพื้นที่ กำจัดวัชพืชและตอไม้
ถนนในแปลง เพื่อใช้ขนส่งวัสดุการเกษตรและผลผลิตในแปลง การวางแผนทำถนนขึ้นอยู่กับขนาดของสวนปาล์มน้ำมัน โดยทั่วไปรูปแบบของถนนมี 3 แบบ คือ
1. ถนนใหญ่ กว้างประมาณ 5-8 เมตร ห่างกัน 120 ต้นปาล์ม เพื่อใช้เป็นเส้นทางขนส่งวัสดุการเกษตร และผลผลิตไปโรงสกัดน้ำมันปาล์ม ( สำหรับถนนเข้าแปลง หรือ ถนนซอยแยกออกจากถนนใหญ่ มีความกว้างประมาณ 4-5 เมตร ห่างกันประมาณ 40 ต้นปาล์มเพื่อใช้สำหรับขนส่งวัสดุการเกษตรเข้าสวนปาล์มและขนส่งผลผลิต
2. ถนนซอย แยกจากถนนเข้าแปลง ขนาดกว้างประมาณ 3-4 เมตร ห่างกันประมาณ 20 ต้นปาล์ม ซึ่งสามารถทำถนนซอยขนานไปกับแถวของต้นปาล์มน้ำมันได้ ใช้ขนส่งวัสดุการเกษตรและผลผลิต
3. ทำช่องระบายน้ำ ขนาด 100 x 30 x 110 ซม. ( ด้านบนxด้านล่างxลึก ) ควบคู่ไปกับทำถนนในแปลงปลูกปาล์มน้ำมัน
การวางแนวปลูก
หลังจากเตรียมพื้นที่สร้างถนนและทางระบายน้ำ จึงวางแนวปลูกให้สอดคล้องกับความลาดเทของพื้นที่และการระบายน้ำ ที่สำคัญคือการปลูกต้นปาล์มให้ทุกต้นได้รับแสงแดดมากที่สุดและสม่ำเสมอเพื่อการสังเคราะห์แสง โดยกำหนดให้แถวปลูกหลักอยู่ในทิศเหนือ-ใต้ ระบบการปลูกปาล์มน้ำมันที่นิยม คือ ปลูกแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะปลูกที่เหมาะสมมีผลกระทบต่อผลผลิตการปลูกถี่หรือห่างเกินไป มีผลกระทบต่อผลผลิตลดลง ระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับพันธุ์ลูกผสมที่ได้จากพ่อพันธุ์กลุ่มต่างๆ
ตารางที่ 2 ระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับพันธุ์ลูกผสมที่ได้จากพ่อพันธุ์กลุ่มต่างๆ

พันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอร่าจากพ่อพันธุ์กลุ่มต่างๆ ปลูกแบบสามเหลี่ยมด้านเท่าระยะปลูก( ม. ) จำนวนต้น /ไร่
Deli Dura x AVROS

Deli Dura x Ekona

Deli Dura x Ghana

Deli Dura x La Me

9.00

8.75

8.50

9.00

22

24

25

22

วิธีการวางผังปลูกปาล์มน้ำมัน ( ระยะ 9.00 เมตร )
ให้ปักหลักแถวแรกตามแนวทิศเหนือ ใต้ ให้ห่างกัน 9.00 เมตร ( โดยเริ่มต้นจากมุมใดมุมหนึ่งของแปลงปลูก )
จากหลักแรกของแถวที่ 1 ปักหลักตามแนวตั้งฉากกับแถวที่ 1 ในทิศตะวันออก – ตะวันตก และให้หลักห่างกัน 7.79 เมตร ( ซึ่งหลักในแนวดังกล่าวจะเป็นแนวของแถวที่ 2,3,4..)
เริ่มปักหลักแรกของแถวที่ 2 ที่ระยะห่างกับแถวแรก 7.79 เมตร และทำมุม 30 องศาที่หลักแรกของแถวที่ 1 หรือห่างจากแนวตั้งฉากกับแถวแรก 4.5 เมตร และปักหลักที่ 2,3,4…ของแถวที่ 2 ให้ห่างกัน 9.00 เมตร และให้ขนานกับแถวที่ 1
ปักหลักแรกของแถวที่ 3 ที่ระยะห่างกับแถวที่ 2 คือ 7.79 เมตร และให้อยู่ในแนวทำมุมฉากที่หลักแรกของแถวที่ 1
ปักหลักในแถวที่ 4,6,8,10…ให้ทำเช่นเดียวกับแถวที่ 2 แถวที่ 5,7,9,11…ให้ทำเช่นเดียวกับแถวที่ 3
10(1)
ภาพที่ 1 การวางผังปลูกปาล์มน้ำมัน แบบสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะปลูก 9.00 เมตร

วิธีการปลูกและการดูแลปาล์มน้ำมัน
วิธีการปลูกและการดูแลปาล์มน้ำมัน (เอกสารอ้างอิง : กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
แหล่งปลูก
1.สภาพพื้นที่

ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 300 ม.
ความลาดเอียง 1-12 % ไม่มากกว่า 28 %
พื้นที่ไม่มีน้ำท่วมขัง มีการระบายน้ำดี ถึงปานกลาง
2.ลักษณะดิน
ดินร่วน หรือดินปนดินเหนียว หรือดินเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง
ชั้นดินมีความลึกของชั้นหน้าดิน มากกว่า 75 ซม. ไม่มีชั้นดินดาน
ความเป็นกรมด่างของดิน 4-6
ระดับน้ำใต้ดินลึก 75-100 ซม.
3.สภาพภูมิอากาศ
อุณหภูมิเฉลี่ยที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 20-30 องศาเซลเซียส
ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,800 มม.ต่อปี มีการกระจายของน้ำฝนสม่ำเสมอ มีช่วงแล้งต่อเนื่อง น้อยกว่า 3 เดือนต่อปี
4.แหล่งน้ำ
มีแหล่งน้ำใกล้เคียงเพื่อใช้ในช่วงแล้ง
5.การเลือกพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน
กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการวิเคราะห์พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในภาคใต้ พบว่ามีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมและสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้กระจายตัวอยู่ใน 14 จังหวัดภาคใต้มีพื้นที่ทั้งหมด 13.7 ล้านไร่ เกษตรกรผู้สนใจสามารถหาดูได้จากแผนที่พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่เหมาะสม จากหน่วยงานต่าง ๆ คือ เกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ สหกรณ์จังหวัดและกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง

ปาล์มน้ำมัน

Posted: มกราคม 4, 2013 in Uncategorized

ปาล์มน้ำมัน (Oil palm) เป็นพืชตระกูลปาล์มลักษณะลำต้นเดี่ยว ขนาดลำต้นประมาณ 12 -20 นิ้ว เมื่ออายุประมาณ 1-3 ปี ลำต้นจะถูกหุ้มด้วยโคนกาบใบ แต่เมื่ออายุมากขึ้นโคนกาบใบจะหลุดร่วงเห็นลำต้นชัดเจน ผิวของลำต้นคล้ายๆ ต้นตาล ลักษณะใบเป็นรูปก้างปลา โคนกาบใบจะมีลักษณะเป็นซี่ คล้ายหนามแต่ไม่คมมาก เมื่อไปถึงกลางใบหนามดังกล่าวจะพัฒนาเป็นใบ การออกดอกเป็นพืชที่แยกเพศ คือต้นที่เป็นเพศผู้ก็จะให้เกษรตัวผู้อย่างเดียว ต้นที่ให้เกษรตัวเมียจึงจะติดผล
ลักษณะผลเป็นทะลายผลจะเกาะติดกันแน่นจนไม่สามารถสอดนิ้วมือเข้าไปที่ก้านผลได้ เวลาเก็บผลปาล์มจึงต้องใช้มีดงอเกี่ยวที่โคนทะลายแล้วดึงให้ขาด ก่อนที่จะตัดทะลายปาล์มต้องตัดทางปาล์มก่อนเพราะผลปาล์มจะตั้งอยู่บนทางปาล์ม กระบวนการตัดทาง(ใบ)ปาล์มและตัดเอาทะลายปาล์มลง เรียกรวมๆ ว่า แทงปาล์ม ปาล์มน้ำมันจัดเป็น พืชเศรษฐกิจมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา เป็นพืชที่ให้ผลผลิต น้ำมันต่อหน่วยพื้นที่สูงกว่าพืชน้ำมันทุกชนิด
สามารถนำมาแปรรูปทำเป็นน้ำมันปาล์มประกอบอาหาร เนย รวมถึงเป็นส่วนผสมในไบโอดีเซลด้วย ใบมาบดเป็นอาหารสัตว์ กะลาปาล์มเป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิง ทะลายปาล์มใช้เพาะเห็ด และกระทั่งการปลูกลงดินไปแล้วก็ช่วยในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในการช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีก [1]
ในประเทศไทยมีการปลูกทั้งทางภาคใต้และภาคตะวันออก พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก เป็นปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอรา โดยเฉพาะที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ช่วงปี 2547 – 2550 มีการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่นาร้าง โดยกรมพัฒนาที่ดิน มีการขุดร่องให้ฟรี ให้พันธุ์และปุ๋ย โดยให้เหตุผลในการส่งเสริมการปลูกเนื่องจากเป็นปาล์มที่ให้นำมันใช้ได้ทั้งการบริโภคและใช้เป็นไบโอดีเซลได้
ปัจจุบัน ประเทศที่ผลิตและส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดในโลกคือประเทศมาเลเซีย ผลิตเป็นสัดส่วนมากถึงร้อยละ 47 ของการผลิดของโลก