การดูแลรักษา

Posted: มีนาคม 18, 2013 in Uncategorized

การให้ปุ๋ย
การประเมินความต้องการธาตุอาหารของปาล์มน้ำมัน ซึ่งปาล์มน้ำมันต้องการธาตุอาหารในปริมาณสูงและค่าใช้จ่ายในการใส่ปุ๋ยมีราคาแพง จึงจำเป็นต้องทราบชนิดและอัตราปุ๋ย ตลอดจนวิธีการและระยะเวลาที่เหมาะสมในการใส่ปุ๋ย เพื่อลดต้นทุนการผลิต วิธีการพื้นฐานในการประเมินความต้องการปุ๋ยของปาล์มน้ำมัน มีดังนี้
วิธีที่ 1 : ใช้ลักษณะอาการที่มองเห็นที่ต้นปาล์ม แสดงอาการขาดธาตุอาหาร
วิธีที่ 2 : ใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ คือ การใส่ปุ๋ยเคมีตามผลการวิเคราะห์ใบปาล์มน้ำมัน
การประเมินความต้องการธาตุอาหารของปาล์มน้ำมันโดยวิธีที่ 2 เป็นวิธีที่นิยมและแพร่หลายในปัจจุบัน คือ สามารถบอกระดับปริมาณความต้องการปุ๋ย โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องเก็บใบที่ถูกต้องมาวิเคราะห์ และปริมาณผลผลิต ติดต่อกันอย่างน้อย 3-4 ปี นอกจากนี้ยังต้องใช้ข้อมูลการใส่ปุ๋ย การสังเกตอาการขาดธาตุอาหารของพืชการเจริญเติบโต และข้อมูลการวิเคราะห์ดินเพื่อประกอบการพิจารณาใส่ปุ๋ยต่อไป การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันด้วยวิธีนี้เกษตรกรจะต้องเก็บตัวอย่างใบถูกต้องส่งมาที่สำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 หรือกองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร และหน่วยงานดังกล่าวจะทำการวิเคราะห์ธาตุอาหารและจัดส่งคำแนะนำการใส่ปุ๋ยตามผลการวิเคราะห์ใบปาล์มน้ำมันให้เพื่อเป็นข้อมูลในการใส่ปุ๋ยเคมีต่อไป ในกรณีที่เกษตรกรไม่สามารถเก็บตัวอย่างใบส่งไปวิเคราะห์ทางเคมีได้หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ กรมวิชาการเกษตรมีคำแนะนำการใส่ปุ๋ย ดังนี้ ( ตาราง) ควรกำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ยเคมีและใส่ในขณะที่ดินมีความชื้นเพียงพอ หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยเมื่อฝนตกหนัก
ตารางการใส่ปุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมันอายุต่าง ๆ

อายุ ( ปี ) เดือนที่ใส่ปุ๋ย แอมโมเนียม ซัลเฟต ร็อค

ฟอสเฟต

โพแทสเซียม

คลอไรด์

คีเซอร์

ไรท์

โบเรท

( กรัม/ต้น )

( กิโลกรัม / ต้น )
1

 

 

 

 

 

รองก้นหลุม

1

3

6

9

12

0.1

0.2

0.2

0.3

0.4

0.5

0.8

0.1

0.2

0.2

0.1

30

รวมทั้งหมด ปีที่ 1 1.2 1.3 0.5 0.1 30
2

 

 

 

15

18

21

24

0.5

0.5

1.0

1.5

1.5

1.5

1.5

1.0

1.0

0.3

0.3

60

รวมทั้งหมด ปีที่ 2 3.5 3.0 2.5 0.5 60
3

 

27

31

36

1.5

1.5

2.0

3.0

1.0

1.0

1.0

0.5

0.5

90

รวมทั้งหมด ปีที่ 3 5.0 3.0 3.0 1.0 90
4

 

40

46

2.5

2.5

1.5

1.5

1.5

1.5

0.5

0.5

100

รวมทั้งหมด ปีที่ 4 5.0 3.0 3.0 1.0 90
5 52

58

2.5

2.5

1.5

1.5

2.0

2.0

0.5

0.5

80

รวมทั้งหมด ปีที่ 5 5.0 3.0 4.0 1.0 80
6 ปี

ขึ้นไป

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

2.5

2.5

1.5

1.5

2.0

2.0

0.5

0.5

80

รวมทั้งหมด ปีที่ 6 5.0 3.0 4.0 1.0 80

ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21- 0- 0 ) N = 21 %
ปุ๋ยทริบเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต(0- 46- 0 )P2O5= 46 %
ปุ๋ยร็อคฟอสเฟต (0- 3- 0 ) P2O5= 30 %
ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0- 0- 60 ) K2O= 60 %
ปุ๋ยคีเซอร์ไรท์ MgO= 27 %
ปุ๋ยโบเรท Boron= 11 %
ตารางแสดงวิธีการใส่ปุ๋ยเคมีเมื่อปาล์มน้ำมันอายุต่าง ๆ

อายุปาล์ม (ปี) ปุ๋ย N ,K และ Mg ปุ๋ย P
1 – 4

5 – 9

 

10ปีขึ้นไป

 

-ใส่บริเวณรอบโคนต้นที่กำจัดวัชพืชแล้ว

-ใส่บริเวณโคนต้นห่างจากโคนต้น 50 ซม.ถึง2.50 เมตร

-หว่านบริเวณระหว่างแถวปาล์มที่กำจัดวัชพืชหรือบนกองทางใบที่ถูกตัดแต่ง

-ใส่บริเวณรอบโคนต้นที่กำจัดวัชพืชแล้ว

-ใส่บริเวณรอบโคนต้นห่างจากโคนต้น 2.50 เมตร ถึงบริเวณปลายทางใบ

-หว่านบริเวณระหว่างแถวปาล์มที่กำจัดวัชพืชแล้วหรือบนกองทางใบที่ถูกตัดแต่ง

การให้น้ำ
ต้นปาล์มน้ำมันที่ปลูกในสภาพพื้นที่ที่มีช่วงฤดูแล้งยาวนาน หรือสภาพพื้นที่ที่มีการขาดน้ำมากกว่า 250 มม./ปี ควรมีการให้น้ำเสริม หรือทดแทนน้ำจากน้ำฝนในปริมาณ 150-200 ลิตร /ต้น/วัน ในพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ มีแหล่งน้ำจำกัด และมีแหล่งเงินทุนควรติดตั้งระบบน้ำแบบ น้ำหยด ( Drip irrigation ) ส่วนพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำมากเกินพอ และมีแหล่งเงินทุน ควรติดตั้งระบบน้ำแบบระบบ Mini sprinkler
การตัดแต่งทางใบ
ปาล์มน้ำมันที่เริ่มปลูกจนถึงปีที่ 6 ควรไว้ทางใบ 7-8 รอบ ( 56-64 ทางใบ ) ปาล์มน้ำมันที่โตเต็มที่ควรไว้ทางใบ 4.5-6.5 รอบ ( 36-48 ทางใบ ) ไม่ควรตัดแต่งทางใบจนกว่าจะถึงช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรตัดทางใบให้เหลือรองรับทลายปาล์ม 2 ทาง (ชั้นล่างจากทลาย ) และทางใบที่ตัดแล้ว ควรนำมาเรียงกระจายแถวเว้นแถวและทุกๆ 4-5 ปี จะต้องวางสลับแถวกันเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้กระจายทั่วแปลง
การใช้ทลายเปล่าคลุมดิน
ทลายเปล่าที่นำมาจากโรงงาน ควรนำมากองทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน แล้วจึงนำไปวางกระจายไว้รอบโคนต้น โดยใส่ทลายเปล่าอัตรา 150-225 ก.ก/ต้น/ปี
การลดจำนวนต้นปาล์มต่อไร่เพื่อรักษาระดับผลผลิตให้สูง
การรักษาระดับผลผลิตทลายผลปาล์มสดให้อยู่ในระดับสูงและคงที่เมื่อต้นปาล์มมีอายุระหว่าง 10-20 ปี เนื่องจากมีการแข่งขันระหว่างต้นปาล์มน้ำมันในด้านปัจจัยแสงที่เกิดจากการบังแสงซึ่งกันและกันโดยวิธีการลดจำนวนต้นปาล์มจาก 22 ต้น/ไร่ ให้เหลือประมาณ 19 ต้น/ไร่ เมื่อปาล์มมีอายุ 10 ปี ทั้งนี้โดยคัดเลือกต้นปาล์มที่มีลักษณะผิดปกติและมีผลผลิตน้อย หรือไม่ให้ผลผลิตออก โดยใช้วิธีกำจัดต้นปาล์มด้วยสารเคมี คือ เจาะรูที่โคนต้นปาล์มสูงจากดิน 30-90 ซม. เจาะลึกประมาณ 10-20 ซ.ม. ให้ทำมุม 45 องศาลงดินและใส่สารเคมีกรัมม็อกโซน 100 มิลลิลิตร ต่อต้น
การปลูกแทนใหม่
ต้นปาล์มมีอายุประมาณ 18-25 ปี ต้นสูงเกินไปทำให้ค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวสูง และมีผลผลิตต่ำจึงไม่คุ้มกับการดำเนินธุรกิจสวนปาล์มต่อไป หรือปลูกทดแทนพันธุ์ที่มีคุณภาพต่ำ
วิธีการปลูกแทน มี 2 วิธีคือ
1.กำจัดต้นปาล์มเดิมออกให้หมดในครั้งเดียวแล้วปลูกต้นใหม่แทน
2.ตัดต้นปาล์มน้ำมันในสวนเก่าออกในอัตราส่วน 1/3 ของจำนวนต้นทั้งหมดในทุกๆปี
ทั้งนี้โดยตัดโค่นออกในปีที่เริ่มปลูกต้นกล้าปาล์มใหม่ภายในเวลา 3 ปี ต้นปาล์มเก่าจะถูกโค่นล้มหมดและต้นปาล์มน้ำมันปลูกแทนใหม่จะเริ่มให้ผลผลิตในการโค่นล้มต้นปาล์มต้นเดิมออกมี 2 วิธี คือ การใช้สารเคมีและการใช้รถแทรกเตอร์โค่นล้ม
สุขลักษณะและความสะอาด
ทางใบปาล์มที่เกิดจากการตัดแต่งทางใบ หรือเกิดจากการตัดทางใบในขณะทำการเก็บเกี่ยวต้องไม่นำมาเผาและควรนำมาจัดเรียงรอบโคนต้นปาล์ม หรือกองไว้บริเวณแถวของต้นปาล์มแถวเว้นแถว เพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุในสวนปาล์ม
ทลายเปล่าปาล์มน้ำมัน ที่นำมาใช้เป็นวัสดุคลุมดินในสวนปาล์ม ควรนำทลายที่มีขนาดใหญ่ มาสับให้เป็นชิ้นเล็กก่อน แล้วนำไปเรียงรอบโคนต้นปาล์ม เพื่อเพิ่มธาตุอาหารและรักษาความชื้นให้ดิน
ภายหลังจากการเก็บเกี่ยวทลายปาล์มจะมีผลปาล์มที่ร่วงหล่นอยู่บริเวณโคนต้นปาล์ม ควรเก็บรวบรวมใส่ถุงเพื่อส่งเข้าโรงงานสกัด ไม่ปล่อยให้ลูกปาล์มงอกตามพื้นดินใต้ต้นปาล์ม
เสียมด้ามยาวและเคียวติดด้าม เมื่อใช้เสร็จเรียบร้อย ควรทำความสะอาดและลับให้คมเพื่อเตรียมไว้ใช้งานในครั้งต่อไป
เลือกใช้สารเคมีให้เหมาะสมกับชนิดของศัตรูพืช และสารเคมีนั้นต้องมีประสิทธิภาพต่อศัตรูพืชนั้นโดยเฉพาะ
ให้ใช้สารเคมีเฉพาะเมื่อพบว่ามีศัตรูพืช และสารเคมีนั้นต้องมีประสิทธิภาพต่อศัตรูพืชนั้นโดยเฉพาะ
ให้ใช้สารเคมีในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น และไม่ควรใช้เกินอัตราที่กำหนดไว้ในฉลาก
ควรพ่นสารเคมีเฉพาะเมื่อพบว่ามีศัตรูเข้าทำลายในระดับที่จะเกิดความเสียหายต่อปาล์มน้ำมันและหากมีการระบาดรุนแรง ก็ให้เพิ่มจำนวนครั้งมากขึ้นได้
ในการพ่นสารเคมีควรระมัดระวังความเสียหายจากสารเคมีปลิวไปถูกใบปาล์ม หรือรากปาล์มซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อใบ ทำให้ใบไหม้ หรือใบมีการเจริญเติบโตผิดปกติ
ควรใช้แรงงานในการพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะในระยะปาล์มเล็กควรใช้แรงงานที่มีความชำนาญด้านนี้เฉพาะ และต้องฉีดพ่นด้วยความระมัดระวัง
อุปกรณ์ในการฉีดพ่นสารเคมี ภายหลังจากการใช้ควรทำความสะอาดและเก็บไว้ในสถานที่จัดเตรียมไว้
ภาชนะบรรจุสารเคมีและวัสดุการเกษตรต่างๆที่ใช้ในสวนปาล์ม ควรเก็บรวบรวมและนำไปทิ้งในสถานที่ที่จัดไว้สำหรับทิ้งภาชนะเหล่านี้ภายในหรือภายนอกสวน

ใส่ความเห็น